BLOGGER TEMPLATES AND IMVU Layouts »

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภารกิจของกองทพบก

        
        ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา14 ความว่า "กองทัพบก มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพบกและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"
        นอกจากการป้องกันประเทศแล้ว  การพัฒนาประเทศของกองทัพนั้นนับว่าเป็นงานหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้งานป้องกันประเทศโดยการใช้กำลังทหาร  ซึ่งถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าในยุทธศาสตร์ของการป้องกันประเทศไทยนั้นเราใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันเขตหน้า ซึ่งต้องอาศัยกำลังทุกประเภทเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันประเทศ  โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวชายแดน การที่จะใช้กำลังหลักหรือกำลังประจำถิ่นมาวางกำลังป้องกันประเทศคงเป็นไปไม่ได้ ดัง นั้นกำลังประชาชนก็นับได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กำลังประเภทอื่น ๆ แต่การที่จะใช้กำลังประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น  ต้องอาศัยระบบการต่อสู้เบ็ดเสร็จเข้ามาดำเนินการ  และองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ยุทธศาสตร์พัฒนาซึ่งเป็นการพัฒนาคนและพื้นที่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่ากองทัพจะต้องเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการพัฒนานี้เป็นการพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ นอกจากนั้นแล้วเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อนกองทัพต้องเข้าไปมีส่วนช่วย เหลือด้วย

        ในการพัฒนาของกองทัพนั้นสามารถกระทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทางตรงนั้นอาจจะเป็นแผนงานหรือโครงการที่บรรจุไว้ในแผนงานของรัฐบาลหรือ การปฏิบัติโดยอ้อมอาจเป็นการให้การศึกษาแก่ทหารและประชาชนในพื้นที่ที่หน่วยทหารตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม นักพัฒนาของกองทัพต้องคำนึงถึงบทบาทและหลักการรวมทั้งแนวทางต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นการลดปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการพัฒนาของกองทัพจะเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะ ได้ผนึกกำลังทั้งมวลใช้ในการป้องกันประเทศได้อย่างแท้จริง

        เมื่อจะกล่าวถึงทหาร กับ การพัฒนาประเทศ กองทัพไทยนั้นได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้านดังนี้
  1. กอง ทัพกับการพัฒนาทางด้านการเมือง  กองทัพได้ จัดให้มีการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนกำลังพลให้ใช้สิทธิ์ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง โดยเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสามารถใช้พื้นที่และสื่อของกองทัพประชาสัมพันธ์ อุดมการณ์ของพรรคได้อย่างเท่าเทียมกัน และจัดทำโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน โดยให้เป็นหมู่บ้านตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง ในการป้องกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอันจะช่วยให้เกิดความมั่นคงตาม แนวชายแดนทุกด้านของประเทศ เป็นต้น

  2. กอง ทัพกับการพัฒนาด้านสังคมและจิตวิทยามีการดำเนิน กิจกรรมด้านนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมส่งเสริมสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ทางสังคม บทบาทที่ชัดเจนของกองทัพคือ การรวมพลังของสังคมที่แสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นปะจำ อีกทั้งยังมีความสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน โดยจัดกิจกรรมในลักษณะของการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน กับประชาชนทั่วไป อาทิ การจัดอบรมวิชาชีพให้ประชาชนที่สนใจ การแลกเปลี่ยนกำลังพล เข้าอบรมหลักสูตรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน ให้สามารถประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอำนวยการ ประสานงานและดำเนินการเป็นโครงการร่วมระหว่างภาครัฐกับเอกชนเพื่อสร้างสภาพ แวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน และพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของประเทศไว้ การจัดกำลังทหารสนับสนุนการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และการจัดกิจกรรมปลูกป่าการอนุรักษ์พันธ์ไม้และพันธ์สัตว์ป่า ร่วมกับประชาชนในโอกาสต่างๆ เป็นต้น


  3. การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณะภัยกองทัพได้ทำ การช่วยเหลือประชาชนในภาวะที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า หรืออุทุกภัย โดยการจัดตั้งหน่วยงานขึ้น รับผิดชอบในรูปของ “ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวง กลาโหม” และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของแต่ละเหล่าทัพ


  4. กองทัพกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจนโยบายหลัก ของภารกิจด้านนี้คือ การสนับสนุนโครงการพระราชดำริทุกโครงการ โดยเฉพาะตามแนวชายแดน ในเขตที่หน่วยราชการอื่นเข้าไปไม่ถึง หน่วยทหารจึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ ปกป้องคุ้มครองแก่ราษฎรในชนบทห่างไกลความเจริญ อันเป็นการสนองตอบต่อพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงห่วงใยราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานโครงการพระราชดำริให้ดำเนินการในพื้นที่เหล่านั้น โดยมีพระบรมราชวินิจฉัย “ถ้า มีการบุกรุกเข้ามาด้วยอาวุธเราต้องรบ ถ้ารุกเข้ามาด้วยการแทรกซึม เราต้องทำให้บ้านเมืองมั่นคงด้วยการพัฒนา ให้ประชาชนทั่วไปอยู่ดีกินดี มีความมั่นคง” และด้วยความเข้าพระทัยในงานของทหารอย่างลึกซึ้ง จึงมีพระราชดำรัสให้สังคมเข้าใจอย่างชัดเจนถึงภาระหน้าที่อันแท้จริงของทหาร ว่า “อันความมั่นคงของชาตินั้น มิใช่ก่อกำเนิดหรือกำเนิดขึ้นได้ด้วยพลังทางการทหารในการป้องกันประเทศเท่า นั้น แต่ยังรวมถึงการที่จะต้องสร้างสรรค์ให้พี่น้องประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีความสุขสมบูรณ์ เขาจึงจะเกิดความรักแผ่นดินนี้ และนั่นคือความมั่นคงที่แท้จริงและถาวร”



    จาก http://cgsc.rta.mi.th ( web site โรงเรียนเสนาธิการทหารบก )




   นอกจากการป้องกันประเทศแล้ว  กองทัพบกยังต้องดูแลความผาสุกของประชาชนในประเทศ  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ  ทั้งในด้านความมั่นคง  ความเป็นอยู่ของประชาชน  ทรัพยากรธรรมชาติ 
   ส่วนพัฒนาประเทศของกองพัพบก  นอกจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคม  ระบบน้ำอุปโภคบริโภค  ระบบน้ำเพื่อการเกษตร ท่อประปา  อ่าเก็บน้ำ  ระบบไฟฟ้าแล้ว  ยังส่งเสริมโครงการตามแนวพระราชดำริอีกด้วย








    ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ความแตกต่างทางกายภาพของแต่ละภาค ส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางด้านอาชีพ  และ ข้อจำกัดต่างๆ  ส่วนช่วยพัฒนาประเทศของกองทัพบกจึงต้องกำหนดนโยบายการพัฒนาในแต่ละภาคให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน  ในรูปของโครงการที่แตกต่างกันไป ของแต่ละกองทพภาค รับผิดชอบโดยกองพลพัฒนาของแต่ละกองทัพภาค

    แต่หากเกิดความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  จะส่งผลกระทบต่ออาชีพ  การดำรงชีวิต  สภาพความเป็นอยู่ของประชาชน  เกิดความขาดแคลนของทรัพยากร  ต่อด้วยภาวะแก่งแย่ง  และปํญหาทางสังคมตามมาในทีี่สุด  การพัฒนาความเจริญจะหยุดชะงัก  ทั้งความเจริญทางวัตถุและทางจิตใจจากการขาดจิตสำนึก เพราะต้องดิ้นรนแก่งแย่งเพื่อเอาตัวรอดก่อน  ตามสภาพเช่นนี้ ประชาชนจะไม่สามารถอยู่อย่างผาสุข  ความมั่งคงที่แท้จริงที่เกิดจากการวางกำลังป้องกันของทหารและกำลังประจำถิ่นร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย  ดังนั้น เราไม่สามารถเหลีกเลียงได้ที่จะกล่าวว่า  ทหารมีหน้าที่ป้องการประเทศ  ช่วยพัฒนาประเทศ  และ  ปกป้องทรัพยากรอันสำคัญของชาติอีกด้วย



0 ความคิดเห็น: